เล่าให้ฟัง EP.5 “มองเทรนด์ธุรกิจ Event ในปี 2023” กับหัวข้อเรื่อง 2023 จะเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการตลาดงานอีเว้นท์!
กลับมาพบกับเล่าให้ฟัง EP.5 วันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปพบกับ เทรนด์ธุรกิจ Event ในปี 2023 ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหนบ้างในอนาคต และจะแตกต่างมากน้อยแค่ไหนกับปีที่ผ่าน ๆ มา หลังจากวิกฤตโรคระบาด Covid-19 ได้ผ่านพ้นไป ธุรกิจอีเว้นท์ก็ได้กลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้สิ่งที่น่าสนใจหลังจากนี้ในวงการ อีเว้นท์ จะเป็นเช่นไร
เล่าให้ฟัง EP.5 “มองเทรนด์ธุรกิจ Event ในปี 2023”
กับหัวข้อเรื่อง 2023 จะเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการตลาดงานอีเว้นท์!
อนาคตจะเป็นอย่างไรสำหรับอีเว้นท์แบบ Onsite?
แนวโน้มสำคัญที่เริ่มได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ "Bleisure" ซึ่งตามชื่อหมายถึงการรวมกันระหว่างการเดินทางเพื่อธุรกิจและพักผ่อน เป็นเรื่องธรรมดาที่คนทุกวัยจะกระตือรือร้นที่จะออกจากบ้าน รวมไปถึงออกไปต่างประเทศหลังจากมีการปิดกั้นการเดินทางระหว่างประเทศเป็นเวลา 1-2 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์ โรค Covid-19 ระบาด ซึ่งความสำเร็จของงานอีเว้นท์แบบ Onsite นั้นจะได้ประโยชน์จากเหตุการณ์หลังจากนี้เป็นหลัก การประชุมและการสัมมนาจะไม่ถูกจำกัดอยู่ในห้องประชุมที่เงียบเหงา หรือห้องประชุมที่ร้างไม่มีผู้คนอีกต่อไป ผู้เข้าร่วมงานจะต้องได้รับการจูงใจในรูปแบบต่าง ๆ จากอีเว้นท์ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมในงานอีเว้นท์ให้มากที่สุดดังเช่น คำกล่าวที่ว่า: “ในโลกหลังยุคโควิด ธุรกิจและความสุขต้องอยู่ร่วมกัน”
.
ในส่วนของสถานที่การจัดงานก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน อีเว้นท์แบบ Onsite นั้นยังคงมีโอกาสที่ดีที่สุด สำหรับการดึงผู้สนับสนุนหรือสปอนเซอร์ต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงาน เพราะผู้สนับสนุนและเหล่าสปอนเซอร์นั้นต่างต้องการโอกาสในการพบปะกับลูกค้าแบบ Onsite ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการจัดงานแสดงสินค้ายังคงเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมในการนำผู้ซื้อและผู้ขายมารวมตัวกันในสถานที่เดียว เพราะถ้าให้ว่ากันตามจริง การจัดงานแบบ Virtual Event ที่ประสบความสำเร็จแบบถล่มทลายนั้น ก็ยังมีจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายมารวมตัวกันไม่มากพอ และการปรับเปลี่ยนอย่างหนึ่งที่นักการตลาดงานอีเว้นท์อาจต้องทำการบ้านให้มากขึ้น ก็คือการเพ่งความสนใจไปที่แนวคิดแบบ Bleisure เพื่อส่งเสริมงานอีเว้นท์แบบ Onsite แม้ว่าการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันความปลอดภัยของงานกิจกรรมเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือ “ประสบการณ์ตรง” ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกในการทำการตลาด
.
การใช้การตลาดสร้างเนื้อหาที่สามารถส่งเสริมในงานและเพิ่มการมีส่วนร่วมหลังการจัดงานอีเว้นท์ เช่นการสร้างแฮชแท็กที่ใช้ร่วมกัน และการสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมเลือกใช้การสื่อสารในอนาคตถือเป็นการเตรียมพร้อมแบบเก่าที่ไม่ควรมองข้าม การเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการแบบเรียลไทม์ ก็สามารถสื่อถึงการประชาสัมพันธ์จากตัวงานเอง ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบและกลยุทธ์ที่มีการจัดการที่ดี ทำให้บริษัท B2B หลายแห่งสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมผ่านอีเว้นท์แบบ Onsite และแบบ Virtual Event ได้อย่างประสบความสำเร็จ ด้วยวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและช่องทางที่ถูกต้อง ผู้มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าสามารถค้นหาโอกาสในการเข้าใจและสร้างเครือข่ายได้ หรือแม้แต่ซื้อผลิตภัณฑ์และบริการที่นำเสนอในงานนั้น ๆ ได้ทันที
.
ส่วนการจัดงานในแบบไฮบริดนั้นเป็นการผสมผสานระหว่างศักยภาพทางกายภาพและเครือข่ายทางสังคม ของยุคก่อนโควิด-19 เข้ากับการเข้าถึงความพิเศษบางอย่างของโลก Virtual ในยุคโรคระบาด ข้อสังเกตที่ชัดเจนที่สุดคือความเป็นไปได้ของการที่หลาย ๆ คนยังปฏิเสธงานที่จัดแบบเข้าร่วมงานแบบ Onsite ด้วยตนเอง และแบบ Virtual ดังนั้นความท้าทายของเรื่องนี้คือจะทำอย่างไร ให้ช่องว่างของประสบการณ์สำหรับทั้งสองกลุ่มนั้นดีขึ้นหรือเท่าเทียมกัน เราสามารถทำได้โดยการลงทุนในเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูงขึ้น และนำโปรแกรมคุณภาพไปใช้ในระหว่างการประชุมที่จำลองให้ผู้เข้าร่วมงานรู้สึกเสมือนว่าพวกเขาเข้าร่วมงานด้วยตนเอง
ในปี 2023 แนวทางใหม่จะกำหนดยุคการตลาดงานอีเว้นท์
จากการระบาดของโรค Covid-19 มีบทเรียนมากมายได้เกิดขึ้น รวมถึงพลังของแพลตฟอร์ม Virtual สำหรับการเชื่อมต่อผู้คนโดยที่ไม่ต้องกังวลในเรื่องของสถานที่หรือการเงินแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม อีเว้นท์แบบ Onsite นั้น ยังให้ประโยชน์ของการส่งเสริมภาพลักษณ์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ การตลาดแบบอีเว้นท์และการตลาดแบบคอนเทนต์จะยังคงอยู่ร่วมกันต่อไป ในขณะที่โลกธุรกิจดำเนินสู่ยุค New Normal แบบเต็มตัว การตลาดงานอีเว้นท์ในยุคหลังโควิดจึงเป็นเรื่องของอนาคต ในขณะที่ปีที่ผ่านมาได้สอนเราว่าการทำนายอนาคตนั้นไร้ประโยชน์ สัญญาณทั้งหมดชี้ให้เห็นถึงการเกิดขึ้นในการจัดงานแบบไฮบริดนั้นทรงประสิทธิภาพแค่ไหน
.
เทรนด์ของงาน Virtual Event อยู่ที่นี่แล้ว จากการตอบรับของผู้บริโภคในวงกว้างที่สามารถเข้าถึงได้โดยที่ไม่ต้องกังวลในเรื่องของสถานที่และสถานะทางการเงินนั้นไม่มีใครเทียบได้ อย่างไรก็ตามหนึ่งปีของการใช้แพลตฟอร์มวิดีโอเช่น Zoom และ Web-Ex ได้เผยให้เห็นถึงข้อบกพร่องที่เห็นได้ชัดของเครื่องมือการทำงานร่วมกันของเหล่าแพลตฟอร์ม Virtual เหล่านี้
.
Virtual Event นั้นจะดำเนินต่อไปในยุคหลังโควิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากบริษัทและแบรนด์ต่าง ๆ สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ต้องการใช้เวลาและเงินในการเดินทาง อย่างไรก็ตามมีการตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของการประชุมแบบ Virtual อย่างจริงจัง เนื่องจากนักการตลาดงานอีเว้นท์นั้นต้องใช้กลยุทธ์ใหม่เพื่อรักษาและเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมประชุม เช่น การสำรวจความคิดเห็น และสิ่งจูงใจ ทำให้ความสำเร็จของงานไม่สามารถวัดได้จากการเข้าร่วมในยุคที่มีชื่อเรียกว่า "Zoom Fatigue"
.
หากจะมีการจัดงานแบบไฮบริดในประเทศไทย หากต้องการนึกถึงการจัดงานดี ๆ แบบนี้ ให้นึกถึง EventPass Services เราคือบริษัทแถวหน้าที่มีการจัดงานแบบไฮบริดโดยมีประสบการณ์ตรงและมีเครื่องมือที่พร้อม ในการจัดงานในรูปแบบนี้เพื่อรองรับการจัดงานในปี 2023 ที่จะกลับมาเต็มรูปแบบ ทั้งการจัดงาน แบบ Onsite และ Hybrid หรือแม้กระทั่ง Virtual Event เราก็สามารถทำได้และยังเป็น No.1 มาโดยตลอด
.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดงานรูปแบบทั้งหมด ได้ที่ https://www.eventpass.services
.
.
ขอบคุณข้อมูลจาก
บทความน่าสนใจ....
👉 เล่าให้ฟัง EP.4 Events In Event APEC 2022 การประชุมย่อยที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน